วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประวัติสายพันธุ์น้องตูบบางแก้ว ตอนที่ 1


 มีผู้รู้หลายท่านมีความคิดเห็นตรงกันว่า เจ้าตูบบางแก้วมีแหล่งกำเนิดบ้านเกิดอยู่ที่วัดบางแก้ว ต.บางแก้ว อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นหมู่บ้านชุมชนริมน้ำแม่ยม  ในอดีตชาวบ้านอาจจะเลี้ยงไว้บ้านละตัวสองตัว  แต่ถ้าเป็นสิบๆตัวก็ต้องที่วัดบางแก้ว โดยหลวงพ่อมาก สุวัณณโชโต(เมธาวี) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางแก้วรุ่นที่ 3 ซึ่งก็น่าจะอยู่ในราวๆปี พ.ศ.2405 ซึ่งมีเจ้าตูบบางแก้วเป็นฝูง และขึ้นชื่อลือชาในเรื่องของความดุที่คนละแวกนั้นต่างก็ทราบกันดี
   ในสมัยโบราณนั้นผู้คนจะนิยมเลี้ยงเจ้าตูบที่ดุๆไว้เฝ้าบ้านหรือเรือกสวนไร่นา รวมทั้งทรัพย์สินอื่นๆ รวมทั้งบริวารและปศุสัตว์ที่เลี้ยงไว้ขายไว้กิน แต่ทว่าในความดุของเจ้าตูบสายพันธุ์บางแก้วนั้นก็แฝงไว้ด้วยความซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อผูเป็นนายของมัน เมื่อผู้คนต่างทราบถึงกิตติศัพท์ของเจ้าตูบสายพันธุ์ดุและจงรักภักดีต่อผู้เป็นนายแห่งวัดบางแก้วแล้วต่างก็พากันแห่มาขอลูกของมันจากทางวัดนำไปเลี้ยงต่อๆกันไป
บรรดาผู้รู้และไม่ค่อยรู้ต่างพากันสันนิษฐานกันว่าเจ้าตูบบางแก้วนั้นเกิดมาจากการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ระหว่างเจ้าตูบพันธุ์พื้นเมืองของไทยเพศเมียกับสุนัขจิ้งจอกและหมาไน เนื่องจากลักษณะที่เด่นของเจ้าตูบบางแก้วได้รับการถ่ายทอดจะมาจาก 3 สายพันธุ์นี้เป็นหลัก กล่าวคือ


สุนัขจิ้งจอก(Canis Aureus) ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด


 หมาจิ้งจอกทองหรือหมาทอง
 มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า คานิส ออรีอัส(Canis Aureus) มีลักษณะคล้ายหมาป่าวูลฟ์ ขนาดเล็ก ซึ่งมีอยู่อย่างกระจัดกระจายตั้งแต่อัฟริกาใต้ไปจนถึงอัฟริกาเหนือ มีขนสีน้ำตาลปนเหลือง ส่วนหลังและหางจะแซมด้วยขนสีดำ
หมาจิ้งจอกหลังดำ(Black-backked) หรือหลังอาน 
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คานิส เมโซเมลาห์ (Canis Mesomelas) วึ่งพบในอัฟริกาตอนกลาง อัฟริกาใต้ ที่หลังมีขนยาวสีดำปนขาวแผ่กระจายเต็มหลังไปจนถึงบริเวณหางคล้ายๆกับอานม้าและใบหูใหญ่
หมาจิ้งจอกข้างลาย  
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า คานิส เอดัสตัส(Canis Adustus) หมาจิ้งจอกพันธุ์นี้จะมีขนสีเทาและมีขนสีดำพาดเป็นทางด้านข้างของลำตัวและที่ปลายหางจะมีสีขาว พบในอัฟริกาเขตร้อน
หมาจิ้งจอกไซเมี่ยน แจ๊คกัล(Simian Jackal)
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า คานิส ไซเมนซิส(Canis Simensis) พบในเขตที่ราบสูงเอธิโอเปีย มีรูปร่างและขนาดอยู่ระหว่างหมาจิ้งจอกฟ็อกซ์(Fox)และหมาวูล์ฟ(Wolf) แต่ดูแล้วจะเหมือนหมาจิ้งจอกฟ็อกซ์(Fox)มากกว่า เพราะลักษณะที่เด่นๆคือ ใบหูใหญ่ ปลายหูแหลม ลำตัวค่อนข้างยาว ขนตามลำตัวสีแดง ส่วนขนที่ใต้คอสีขาว และมีแนวขนสีแดงแก่พาดรอบคอ ขายาว ขนที่บริเวณปลายขาจะมีสีขาว หางเป็นพวง ตามธรรมชาติจะชอบอยู่เป็นคู่หรือตามลำพังตัวเดียว หมาจิ้งจอกพันธุ์นี้นับว่าเป็นหมาที่มีขนาดใหญ่
   แต่ชนิดที่มีอยู่ในแถบเอเซียและที่พบในประเทศไทยนั้นเป็นชนิดที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า คานิส ออริอัส อินดิคัส (Canis Aureus Indicus) ขนของหมาจิ้งจอกจะมีสีน้ำตาลปนเทา มีลายกระดำกระด่างแบบเปรอะๆ ไม่ใช่พื้นสีแดงสนิมเหมือนอย่างขนของหมาไน นอกจากนั้นแล้วยังมีขนยาวปกคลุมรอบคอเป็นแผงใหญ่ ขนในบริเวณนี้ปลายขนจะมีสีดำ ขนตามลำตัวจะมีลักษณะเป็นขนสองชั้น แผ่ชี้ปกคลุมตั้งแต่ท้ายทอยลงมาถึงกลางหลังเรื่อยลงไปจนถึงโคนหาง มีลักษณะคล้ายกับอานม้ามากกว่าขนที่กลางหลังของเจ้าตูบไทยพันธุ์หลังอานเสียอีก เพราะขนที่หลังของเจ้าตูบหลังอานเป็นขนชนิดที่ย้อนกลับคล้ายๆกับขวัญ หางของหมาจิ้งจอกจะสั้นกว่าหางของหมาไนและขนที่หางจะมีสีดำเพียง 1 ใน 3 ส่วนของหมาไนนั้นขนที่หางจะมีสีดำ   
กระโหลกศรีษะอยู่ในจำพวกสกุลคานิส ลักษณะของจมูกจะยาวแต่จมูกไม่ดำ ลำตัวกลมและแข็งแรง สันกลางต่ำ โค้งกว้างแตกต่างกับหมาไน ซึ่งมีจมูกสั้นและจมูกสีดำ หน้าผากของหมาจิ้งจอกค่อนข้างจะแบนเล็กน้อย หน้าแหลม หูตั้งป้องไปทางด้านหน้า
หมาไน(Asian Wild Dog)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cuon Alpinus ชื่อเหมือนหรือชื่อพ้องคือ Canis Javanicus หรือ Canis Rutiland  บางครั้งก็เรียกหมาไนว่า "หมาแดง" (Red dog) มีลักษณะแตกต่างกว่าหมาจิ้งจอกคือ มีสีแดงสนิม(Rush red) ตลอดทั้งตัว ไม่มีแผงคอเหมือนหมาจิ้งจอก หางมีสีดำ มีลำตัวยาวเพรียวกว่าหมาจิ้งจอกและท้องไม่คอดกิ่วเช่นหมาไนพื้นบ้าน
   หมาไนตัวใหญ่กว่าหมาจิ้งจอก มีสีเดียวกันตลอดทั้งตัว(มากกว่าหมาจิ้งจอก) หางยาวและมีสีเข้มกว่า จมูกสีเข้มกว่าและสั้นกว่า ภายในหูมีขนขาวละเอียดอ่อนปกคลุม ปลายหูกลมมน ไม่แหลมเหมือนหมาจิ้งจอก มีขนตามลำตัวสีแดงสนิม ขนยาวกว่าหมาจิ้งจอก ขนที่แผงคอไม่มี(หมาจิ้งจอกมี) เท้าและขนที่หางมีสีดำ ช่วงฤดูหนาวขนจะหนาขึ้น ลูกที่เกิดใหม่จะมีสีดำคล้ำ เมื่อโตขึ้นสีจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีแดงสนิม
   กะโหลกศรีษะคล้ายกับของหมาจิ้งจอก แต่ใหญ่กว่า จมูกกว้างและส่วนหน้าแบนกว่า เบ้าตาต่ำกว่า รูปร่างฐานเบ้าตาสั้นกว่าและทื่อค่อนไปทางข้างหน้า ลักษณะฟันไม่เหมือนกัน ปากมอมสีน้ำตาลเข้มหรืออาจมีสีขาวปน หางเป็นพวงห้อยลงดิน  ส่วนมากจะหลบซ่อนตัวอยู่ในที่ร่มหรือโพรงดินตื้นๆ เห่าเสียงธรรมดาถี่ๆ แต่เมื่อตกใจจะร้องเสียงแหลม หมาไนสามารถกระโดได้ไกล 3-3.5 เมตร เวลาวิ่งกระโดดไกล 5-6 เมตร  เวลาล่าเหยื่อที่เป็นสัตว์ใหญ่กว่าจะรวมตัวกันเป็นฝูง 6-8 ตัว จนถึง 20 ตัวก็มี หาเหยื่อได้โดยการดมกลิ่น และสะกดรอยไปจนเห็นเหยื่อ จากนั้นจะไล่เหยื่อไปจนเหนื่อยอ่อนและจนมุม
หมาไทยพื้นบ้าน
ขนตามลำตัวสั้นเกรียน ละเอียดเป็นเงา หูตั้ง ปลายหูแหลม แข้งขาเล็กเรียวคล้ายขาเก้ง อุ้งเท้าเล็ก ลำตัวค่อนข้างยาวเป็นรูปสี่เหลี่ยนผืนผ้า หางมีหลายรูปแบบคือหางกระรอก หางงอม้วนเป็นก้นหอยหรือขนมกง...


ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
thaiflood.kapook.com
อ.สันต์ นาคะสุวรรณ